กิจกรรมที่ 2
1.ประเด็นที่อ่านแล้วมีอะไรที่น่าสนใจ
จากการที่กระผมได้ศึกษารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
พุทธศักราช 2550 คือการร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้มีสาระสำคัญคือ
เพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ร่วมกันของประชาชนชาวไทย
และให้ประชาชนมีบทบาทในการมีส่วนร่วมในการปกครองประเทศ และตรวจสอบการทำงานของรัฐ
อีกทั้งยังให้ประชาชนชาวไทยที่มีสิทธิเลือกตั้งออกเสียงในการเห็นชอบของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับนี้
2.สิ่งที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาวิชานี้ตรงกับรัฐธรรมนูญในประเด็นใดบ้าง
หมวด
3 สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย
ส่วนที่ 8
สิทธิและเสรีภาพในการศึกษา
มาตรา
49
บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับการศึกษาไม่น้อยกว่าสิบสองปีที่รัฐจะต้อง
จัดให้อย่าง
ทั่วถึงและมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย ผู้ยากไร้
ผู้พิการหรือทุพพลภาพหรือผู้อยู่ในสภาวะยากลำบากต้องได้รับสิทธิตามวรรค
หนึ่งและการสนับสนุนจากรัฐ เพื่อให้ได้รับการศึกษาโดยทัดเทียมกับบุคคลอื่น
การจัดการศึกษาอบรมขององค์กรวิชาชีพหรือเอกชน
การศึกษาทางเลือกของประชาชน การเรียนรู้ด้วยตนเองและการเรียนรู้ตลอดชีวิต
ย่อมได้รับการคุ้มครองและส่งเสริมที่เหมาะสมจากรัฐ
มาตรา 50 บุคคลย่อมมีเสรีภาพในทางวิชาการ การศึกษาอบรม การเรียนการสอน การวิจัย
และการเผยแพร่งานวิจัยตามหลักวิชาการ
ย่อมได้รับความคุ้มครองทั้งนี้เท่าที่ไม่ขัดต่อหน้าที่ของพลเมืองหรือ
ศีลธรรมอันดีของประชาชน
3.ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับความรู้และความจำที่น่าจะนำไปตอบข้อสอบได้มีอะไรบ้าง
ยกตัวอย่าง
ประเทศไทยมีรัฐธรรมนูญมาแล้วทั้งสิ้น
18 ฉบับ ฉบับปัจจุบัน คือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพ.ศ.
2550 ซึ่งประกาศใช้เมื่อวันที่ 24
สิงหาคม พ.ศ. 2550
จุดกำเนิดรัฐธรรมนูญของไทย
เกิดขึ้นจากบุคคลกลุ่มหนึ่งประกอบด้วยฝ่ายทหารและพลเรือนที่เรียกว่า
"คณะราษฎร" ได้ทำการเปลี่ยนแปลงการปกครองประเทศ จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์หรือราชาธิปไตย
ซึ่งอำนาจสูงสุดในการปกครองอยู่ที่พระมหากษัตริย์ มาเป็นการปกครองระบอบประชาธิปไตย
อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หมายความว่า อำนาจสูงสุดเป็นของปวงชนชาวไทย
และพระมหากษัตริย์ทรงมีฐานะเป็นประมุขของรัฐ
การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเกิดขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
รัชกาลที่ 7
ซึ่งได้พระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวให้แก่ปวงชนชาวไทย เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2475 เรียกว่า
"พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475"
และต่อมา พระองค์ได้พระราชทานรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม
พุทธศักราช 2475 เป็นรัฐธรรมนูญฉบับถาวรให้แก่ปวงชนชาวไทย
เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475
ภายหลังทางราชการได้กำหนดให้วันที่ 10 ธันวาคมของทุกปี
เป็นวันรัฐธรรมนูญ
เพื่อเป็นการรำลึกถึงการพระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับถาวรของไทยฉบับแรก รัฐธรรมนูญ
เราสามารถจำแนกได้ดังต่อไปนี้
1.รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดที่ใช้ปกครองประเทศ
2.รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายที่บัญญัติถึงโครงสร้างการปกครองประเทศ
3.รัฐธรรมนูญวางหลักประกันเพื่อคุ้มครองสิทธิ เสรีภาพ
4.รัฐธรรมนูญช่วยทำให้เกิดการปฏิรูปทางการเมืองและการบริหารราชการแผ่นดิน
4.ทำไมเราต้องมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
ให้นักศึกษาบอกเหตุผลประกอบการอภิปราย
- รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ถือเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ จึงมีความ สำคัญต่อวิถีชีวิตความเป็นอยู่ในสังคม ความเป็นอยู่ของคนไทยทุกคน ตลอดจนอนาคตของประเทศชาติเป็นอย่างยิ่ง ประชาชนชาวไทยทุกคนจำเป็นต้องมีความรู้ ความเข้าใจในเนื้อหาสาระของรัฐธรรมนูญ เนื่องจากเป็นเรื่องของสิทธิเสรีภาพ
และหน้าที่ของพลเมือง
แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐตลอดจน การจัดระเบียบทางการเมืองและการปกครองของประเทศ อันจะนำไปสู่การปฏิรูปทางสังคม เศรษฐกิจและการเมือง และนำมาซึ่งความมั่นคง ความรุ่งเรือง
และความสามัคคีของบุคคลทุกฝ่ายในประเทศ
5.นักศึกษามีความคิดเห็นอย่างไรในการที่รัฐบาลจะแก้ไขรัฐธรรมนูญเพราะเหตุใดที่จะต้องแก้ไขและทำไมมีประชาชนบางกลุ่มจึงคัดค้าน
ขอให้นักศึกษาบอกถึงเหตุผลที่จะต้องแก้ไข
- ในความคิดส่วนตัวของกระผมนั้นไม่เห็นด้วย
เพราะการที่จะแก้รัฐธรรมนูญนั้นต้องแก้เพื่อประโยชน์ของประชาชนเป็นสำคัญเพื่อให้ได้ซึ่งความเสมอภาค ถ้าแก้เพื่อประโยชน์ส่วนตนหรือเหตุผลประโยชน์ส่วนบุคคลฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง
ไม่ควรแก้เหตุผลที่มีประชาชนบางกลุ่มคัดค้านการแก้รัฐธรรมนูญ เนื่องจากเห็นว่าเป็นการกระทำเพื่อตนเองหรือฝ่ายตนเองไม่ใช่เพื่อส่วนรวม
และเป็นชนวนให้เกิดความไม่สงบในสังคมไทยในปัจจุบัน
6.ปัจจุบันการปกครองประเทศมีอำนาจทั้ง
3 อำนาจที่จะต้องมีความสมดุลซึ่งกันและกัน
และนักศึกษามองถึงปัญหารัฐสภา สภาผู้แทนราษฎร์ สภานิติบัญญัติ
มีภาวะที่ดำรงอยู่อย่างไร
มีความมั่งคงที่จะรักษาความเสถียรต่อการบริหารบ้านเมืองหรือไม่ขอให้นักศึกษาอภิปรายและแสดงความคิดเห็นในประเด็นดังกล่าว
-ปัญหาหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนั้นกระผมคิดว่าเกิดจากการที่ไม่ยอมรับฟังเหตุผลซึ่งกันและกันหรือการนำเอาความคิดเห็นของฝ่ายตนเพียงฝ่ายเดียว
ผู้ที่ถือกฎหมายไม่ทำตนเป็นกลางโดยส่วนมากจะนึกถึงแต่ประโยชน์ส่วนตน ทำหน้าที่ของตนเองไม่เต็มที่และไม่เป็นไปอย่างยุติธรรม
เพราะมั่วแต่คอยขัดขวางการทำงานของอีกฝ่าย
การประชุมสภาแต่ละครั้งก็มีการทะเลาะกันระหว่างประชุม อีกทั้งยังมีการแทรกแซงอำนาจกัน จากปัญหาต่างๆมากมายที่เกิดขึ้น บ้านเมืองไม่มีการพัฒนาขึ้น เศรษฐกิจถดถอยลง ความสามัคคีขาดหายเห็นแก่ส่วนตัวมากกว่าส่วนรวม
จึงมีความเห็นว่าไม่มีความมั่นคงที่จะรักษาเสถียรภาพต่อการบริหารบ้านเมืองให้ก้าวหน้า